วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554








กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน


1. การทะเบียนราษฎร์
บุตรเกิด ถ้าเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้ง ถ้าเกิดนอกบ้าน ให้มารดาแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด
ชื่อบุตร ให้เจ้าบ้าน บิดา หรือมารดาแล้วแต่กรณี แจ้งชื่อบุตรพร้อมกับการแจ้งเกิด ถ้าจะเปลี่ยนชื่อให้แจ้งภายใน 6 เดือนนับแต่วันแจ้งชื่อครั้งแรก
ย้ายบ้าน ให้ผู้ย้ายหรือผู้ที่เจ้าบ้านมอบอำนาจแจ้งออกจากบ้านเดิมภายใน 15 วัน และเมื่อไปอยู่บ้านใหม่ให้แจ้งภายใน 15 วันเช่นกัน
คนตาย ถ้าในบ้านให้เจ้าบ้านแจ้ง ถ้าตายนอกบ้านให้ผู้ที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้ที่พบศพเป็นผู้แจ้ง ภายใน 24 ช.ม. นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ แจ้งที่ไหน กรณีบุตรเกิด ตั้งชื่อบุตร ย้ายบ้านหรือคนตาย ให้แจ้งดังนี้
ในเขตเทศบาล : ให้แจ้งที่สำนักงานท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเทศบาล
นอกเขตเทศบาล : ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล (บ้านกำนัน) หรือสำนักทะเบียนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง (เช่น เขตกรมทหาร)
ความผิด
ถ้าไม่แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา มีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
ถ้าไม่แจ้งการตายภายในเวลามีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท

2. บัตรประจำตัวประชาชน
คนไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจนถึง 70 ปี บริบูรณ์ ต้องไปขอทำบัตรที่อำเภอหรือที่ว่าการเขตภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่อายูครบ 15 ปีบริบูรณ์
บัตรประจำตัวประชาชนชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นคำร้องขอมีบัตรใหม่ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่บัตรเดิมชำรุดหรือสูญหาย (ต้องไปแจ้งบัตรหายที่สถานีตำรวจ)
อายุของบัตร กำหนดใช้ได้ 6 ปี เมื่อถึงกำหนดสิ้นอายุบัตรต้องไปติดต่อขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันสิ้นอายุ ณ อำเภอท้องที่ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
ความผิด
ผู้ถือบัตรผู้ใดไม่อาจแสดงบัตรได้ในเมื่อเจ้าพนักงานขอตรวจ มีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
ผู้ไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำร้องขอมีบัตร โดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าตนมีสัญชาติไทย มีโทษปรับไม่เกิน 2.000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
ไม่ยื่นคำร้องขอมีบัตรภายในกำหนดเวลา มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
บัตรหมดอายุไม่ต่อบัตรภายในกำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท


3. การรับราชการทหาร
กำหนดเวลาแสดงตนลงบัญชีทหารกองเกิน ชายไทยอายุย่างเข้า 18 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินในเดือนพฤศจิกายนของปีที่อายุย่างเข้า 18 ปี
สถานที่แสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน คือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่เป็นภูมิลำเนาทหาร


4. การรักษาความสะอาด
ห้ามขีดเขียน วาดรูปวาดภาพบนรั้วผนังอาคาร ต้นไม้ หรือสิ่งใดใสที่สาธารณะ หรือเห็นได้จากที่สาธารณะนั้น ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
ห้ามติดตั้ง ตาก วางหรือแขวนสิ่งใดๆ ในที่สาธารณะหรือมองเห็นได้จากที่สาธารณะโดยไม่บังควรหรือทำให้มองดูแล้วไม่เป็นระเบียบเรัยบร้อย ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับ 200 บาท
ห้ามบ้วน สั่งหรือถ่มน้ำลาย น้ำมูก น้ำหมาก เสมหะหรือทิ้งสิ่งใดๆ ลงบนท้องถนน พื้นรถ หรือเรือสาธารณะ โรงมหรสพ ร้านค้า หรือที่สาธารณะ ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท

5. การเรี่ยไร
ผู้ทำการเรี่ยไร ต้องมีใบอนุญาตให้ทำการเรี่ยไรติดตัวและต้องออกใบรับให้ผู้บริจาค

6.หนังสือมอบอำนาจ
การมอบอำนาจ เป็นการตั้งตัวแทนเพื่อทำการสำหรับการมอบอำนาจให้กระทำ การเกี่ยวกับที่ดินเป็นเรื่องสำคัญ ควรใช้หนังสือมอบอำนาจของกรมที่ดิน

7. เอกเทศสัญญา
กู้ยืม การกู้ยืมเงินกันเกินกว่าห้าสิบบาท จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่ามีการกู้ยืมเงินกันจริงและต้องลงลายมือชื่อผู้กู้ด้วย กฎหมายให้คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 15 บาทต่อปี
การจำนอง คือการกู้ยืมโดยมีทรัพย์สิน เป็นประกัน โดยทั่วไปได้แก่ ที่ดิน บ้านพร้อมที่ดิน เรือยนต์ (5 ตันขึ้นไป) สัตว์พาหนะ ได้แก่ ช้าง ม้า วัว ความ หรืออสังหาริมทรัพย์อื่น ซึ่งกฎหมายหากบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะกาล โดยทรัพย์ยังอยู่ที่ผู้จำนอง การจำนองต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
เช่าซื้อ ต้องทำเป็นหนังสือและปิดอากรแสตมป์ เว้นแต่เช่าซื้อเครื่องมือการเกษตรไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
เช่าทรัพย์ เช่าบ้านหรือที่ดินไม่เกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เช่าและผู้ให้เช่า หากเกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

8. กฎหมายที่ดิน
เมื่อโฉนดใบจองหรือ นส.3 ชำรุด สูญหายหรือเป็นอันตราย ต้องติดต่ออำเภอหรือสำนักงานทะเบียนที่ดิน เพื่อขอออกใบใหม่หรือใบแทน มิฉะนั้นผู้อื่นที่ได้หนังสือสำคัญไปอาจนำไปอ้างสิทธิ ทำให้เจ้าของเดิมเสียประโยชน์ได้
ที่ดินมือเปล่า เจ้าของควรดูแลรักษาให้ดี อย่าทอดทิ้งหรือปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า หากมีผู้ครอบครองก็หาทางไล่ออกไปเสีย มิฉะนั้นเจ้าของจะเสียสิทธิไป นอกจากนี้ หากไม่มี ส.ค.1 ก็ควรหาทางขอ น.ส.3 แล้วต่อไปก็ขอให้มีโฉนดเสียให้เรียบร้อย เพราะทำให้ได้ประโยชน์มากขึ้นและปลอดภัยจากการเสียสิทธิมากขึ้น
ที่ดินมีโฉนด อย่าทอดทิ้งหรือปล่อยให้รกร้างหรือให้คนอื่นครอบครองไว้นานๆ อาจเสียสิทธิได้เช่นกัน
การทำนิติกรรม ต้องทำให้สมบูรณ์ตามกฎหมายโดยทำที่อำเภอหรือสำนักงานทะเบียนที่ดิน

9. อาวุธปืน
ผู้ที่ประสงค์จะขอมีอาวุธปืน เพื่อใช้หรือเก็บไว้ป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน ให้ยื่นคำร้องขอตามแบบ ป.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่
กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ผู้บังคับการกองทะเบียนกรมตำรวจ
จังหวัดอื่นๆ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายทะเบียนท้องที่จังหวัด
การแจ้งย้ายอาวุธปืน เมื่อผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนย้ายภูมิลำเนา ต้องแจ้งย้ายอาวุธปืนต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันย้าย และถ้าย้ายไปต่างท้องที่ให้แจ้งการย้ายต่อนายทะเบียนท้องที่ใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายไปถึงอีกด้วย
การรับมรดกปืน เป็นหน้าที่ของทายาทหรือผู้ครอบครอง ต้องไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องที่ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันทราบการตายและยื่นคำร้องขอรับมรดกอาวุธปืนนั้นต่อไป
ใบอนุญาตสูญหายหรือชำรุดอ่านไม่ออก ให้ยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบเหตุ
อาวุธปืนหายหรือถูกทำลาย ให้เจ้าของแจ้งเหตุพร้อมด้วยหลักฐานและส่งมอบใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนอยู่ หรือนายทะเบียนท้องที่ที่เกิดเหตุภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบเหตุ
*ความผิดและโทษของอาวุธปืน
มีและพกอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 20,000 บาท
พกพาอาวุธปืน ติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้พก เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดพกพาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย หรือพาไปที่ชุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาทแม้ว่าผู้นั้นจะได้รับอนุญาตพกพาอาวุธปืนหรือกรณีเร่งด่วนก็ตาม










กฎหมายแพ่ง

1. กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเอกชนว่าด้วยเรื่องสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ ระหว่างเอกชนต่อเอกชน ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย กฎหมายแพ่งของไทยบัญญัติในรูปของประมวลกฎหมายรวมกับกฎหมายพาณิชย์ รวมเรียกว่า กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสาระพอสังเขป ได้ดังนี้

1.1 บุคคล หมายถึง สิ่งซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย มี 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล

1.1.1 บุคคลธรรมดา หมายถึง มนุษย์ซึ่งมีสภาพบุคคล และสิ้นสภาพบุคคลโดยการตายตามธรรมชาติ หรือตายโดยการสาบสูญ (กรณีปกติ 5 ปี และกรณีไม่ปกติ 2 ปี คือ อยู่ในระหว่างการรบสงคราม ประสบภัยในการเดินทาง เหตุอันตรายต่อชีวิต)

1.1.2 นิติบุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายรับรองให้เป็นสภาพบุคคลสมมุติ ให้มีสิทธิหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

ก) นิติบุคคลตามประมวลกกหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แกj

1) กระทรวง ทบวง กรม

2) วัดวาอาราม ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสงฆ์

3) ห้างหุ้นส่วนที่ได้จดทะเบียนแล้ว

4) บริษัทจำกัด

5) มูลนิธิ สมาคม

ข) นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ได้แก่ นิติบุคคลที่มีกฎหมายพิเศษรับรองสถานะ เช่น พรรคการเมือง รัฐวิสาหกิจ

สหกรณ์

1.2 ทรัพย์ กฎหมายได้แยกลักษณะของทรัพย์สินออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ

1.2.1 สังหาริมทรัพย์ ได้แก่

ก) ทรัพย์ทั้งหลายอันอาจเคลื่อนที่ได้ จากที่แห่งหนึ่งไปแห่งอื่น ไม่ว่าเคลื่อนด้วยแรงเดินแห่งตัวทรัพย์นั้นเอง หรือ ด้วยกำลังภายนอก เช่น

1) เคลื่อนที่ด้วยแรงของทรัพย์นั้นเอง เช่น หมู ช้าง วัว ควาย ฯลฯ

2) เคลื่อนด้วยกำลังภายนอก เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ โต๊ะ เก้าอี้

ข) กำลังแรงแห่งธรรมชาติอันอาจถือเอาได้ เช่น ก๊าซ กระแสไฟฟ้า

ค) สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิจำนำ สิทธิจำนอง สิทธิเครื่องหมายการค้า

ฯลฯ

1.2.2 อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่

1) ที่ดิน

2) ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินนั้น เช่น ตึก โรงเรือน บ้าน ไม้ยืนต้นต่างๆ ฯลฯ

3) ทรัพย์อันประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน เช่น หิน กรวด ทราย

4) สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่น สิทธิครอบครอง สิทธิจำนอง กรรมสิทธิ์ในที่ดิน

1.3 นิติกรรม หมายถึง การกระทำใดๆ ที่ชอบด้วยกฎหมายและใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ ระหว่าง

บุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ

การแสดงเจตนาของนิติกรรมอาจจะแสดงด้วยวาจา ลายลักษณ์อักษร หรือการนิ่งก็ได้

นิติกรรมแม้จะทำด้วยใจสมัคร ก็มีข้อบกพร่อง ถ้ากฎหมายเข้าไปควบคุมและไม่อนุญาตให้ทำ โดยมี 2 ลักษณะ

1. โมฆะกรรม หมายถึง การกระทำใดๆ ลงไป โดยเสียเปล่า ไม่มีผลผูกพันธ์ใดๆ ได้แก่

1.1 นิติกรรมที่ต้องห้ามโดยกฎหมายชัดแจ้ง เช่น ทำสัญญาจ้างให้กระทำผิดกฎหมาย จ้างฆ่าคน

1.2 นิติกรรมเป็นการพ้นวิสัย เช่น ทำสัญญาซื้อขายดวงอาทิตย์

1.3 นิติกรรมที่เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

1.4 นิติกรรมผิดแบบ เช่น การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ การเช่าซื้อต้องทำหนังสือ หากไม่ปฏิบัติก็ตกเป็นโมฆะ

2. โมฆียกรรม หมายถึง นิติกรรมที่มีผลต่อคู่กรณี แต่ไม่สมบูรณ์โดยกฎหมาย เนื่องจากความสามารถของผู้กระทำนิติกรรม เช่น ผู้เยาว์ ผู้เสมือนไร้ความสามารถ ผู้ไร้ความสามารถ เป็นต้น หากมีการให้การรับรอง นิติกรรมนั้นก็สมบูรณ์ หรือ บอกล้างได้ภายใน 10 ปี ก็จะตกเป็นโมฆะกรรม

1.4 สัญญา เป็นนิติกรรมชนิดหนึ่ง สัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องมีคู่สัญญาถูกต้องตามสาระสำคัญ และมีวัตถุประสงค์ไม่ต้องห้ามตามกำหมาย หรือขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ได้แก่

1.4.1 สัญญากู้ยืมเงิน

1.4.2 สัญญาซื้อขาย

1.4.3 สัญญาขายฝาก

1.4.4 สัญญาเช่าซื้อ

1.4.5 สัญญาจำนอง

1. ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่จำนอง

2. ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่

3. ผู้จำนองจะนำทรัพย์สินที่ติดจำนองไปจำนองแก่ผู้อื่นอีกในระหว่างที่สัญญาจำนองอันแรก

ยังมีอายุอยู่ก็ได้

1.4.6 สัญญาจำนำ

1.4.7 สัญญาค้ำประกัน

1.5 ครอบครัว

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

กฎหมาย

ความหมายของกฎหมาย

กฎหมายคือ คำสั่งหรือระเบียบข้องบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐ หรือประเทศนั้นได้กำหนดขึ้น เพื่อใช้บังคับความประพฤติของบุคคลหรือประชาชนภายในรัฐให้ปฏิบัติตาม หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฎิบัติตามจะต้องมีความ
ผิดและได้รับบทลงโทษความสำคัญของกฎหมายสังคมมนุษย์จะดำรงอยู่โดยปกติสุขได้นั้น จะต้องมีระเบียบแบบแผนหรือกฎเกณฑ์ให้คนในสังคมยึดถือปฏิบัติตามโดยทั่วกันระเบียบแบบแผนหรือกฎเกณฑ์ของสังคมที่สำคัญคือ กฎหมาย เพราะกฎหมายเป็นตัวกำหนด สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบของบุคคลในเรื่องต่าง ๆ และเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของคนในสังคมอีกด้วย
ความสำคัญของกฎหมาย
1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ เมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคมทุกคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติยึดถือเพื่อความสงบเรียบร้อย ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม

2. กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พลเมืองไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับของกฎหมาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ กฎหมายจะเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย

3. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม คนเราทุกคนย่อมต้องการความ ยุติธรรมด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดถูกต้องหรือไม่นั้น ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักของความยุติธรรม

4. กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทางใด หรือคุณภาพของพลเมืองเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดไว้ ดังจะเห็นได้จากการที่กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐเป็นผู้จัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนั้น ย่อมส่งผลให้ คุณภาพด้านการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น หรือการที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ พิทักษ์ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ย่อมทำให้สังคมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนมีมาตรฐานกฎหมายปกครอง
องค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญ ๕ ประการ คือ

(๑) สถาบัน
(๒) ตำแหน่ง(๓) หน้าที่
(๔) อำนาจ(๕) ความรับผิดชอบประเภทของกฏหมายการแบ่งประเภทของกฏหมายโดยพิจารณาจากสภาพ





แบ่งกฏหมายได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. กฏหมายระหว่างประเทศ กฏหมายระหว่างประเทศ เป็นกฏหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐในฐานะที่เท่าเทียมกัน เป็นกฏหมายที่เกิดขึ้นจากความตกลงระหว่างรัฐ ซึ่งถือเป็นกติกาในการจัดระเบียบสังคมโลก ตัวอย่างเช่น กฏหมายการประกาศอาณาเขตน่านฟ้า การส่งผู้ร้ายขามแดน และสนธิสัญญาต่างๆ เป็นต้น2. กฏหมายภายในประเทศ เป็นกฏหมายที่ใช้บังคับภายในรัฐต่อบุคคลทุกคนที่อาศัยอยู่ภายในรัฐ ไม่ว่าจะเป็นประชาชนของประเทศนั้นๆ หรือบุคคลต่างด้าว กฏหมายภายในประเทศยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ กฏหมายมหาชนและกฏหมายเอกชนกฏหมายมหาชน หมายถึง กฏหมายที่รัฐเข้าไปมีส่วนร่วมในการเป็นคู่กรณีด้วยกับเอกชน มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดรูปแบบการปกครองรัฐ และควบคุมความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชนในฐานะที่รัฐจำต้องรักษาผลประโยชน์ของรัฐ และผลประโยชน์ของสาธารณะ โดยทั่วไปกฏหมายมหาชนแบ่งได้เป็น 5 ประเภท คือรัฐธรรมนูญ เป็นกฏหมายสูงสุดของประเทศ กำหนดรูปแบบและการปกครองของรัฐ การใช้อำนาจอธิปไตย และการกำหนดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในด้านต่างๆกฏหมายปกครอง เป็นกฏหมายที่ขยายความให้ละเอียดจากรัฐธรรมนูญบัญญัติเกี่ยวกับองค์กรของรัฐ เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในการปฏิบัติการต่างๆ ตามกฏหมาย กำหนดสิทธิของประชาชนในการเกี่ยวพันกับรัฐกฏหมายอาญา เป็นกฏหมายที่มีบทบัญญัติครอบคลุมเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของรัฐ ชุมชน และประชาชนโดยส่วนรวม วัตถุประสงค์ของกฏหมายเพื่อที่จะให้ความปลอดภัย สร้างความเป็นระเบียบของรัฐและรักษาศีลธรรมอันดีของประชาชนกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกฏหมายที่กำหนดรายละเอียดวิธีพิจารณาคดีอาญาทางศาลพระธรรมนูญศาลยุติธรรม กำหนดว่าในการพิจารณาคดีนั้น ศาลใดจะมีอำนาจในการพิจารณาคดีประเภทใดกฏหมายเอกชนเป็นกฏหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือบุคคลกับนิติบุคคล และบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการต่างๆ ที่ให้บุคคลสามารถรักษาและป้องกันสิทธิมิให้ถูกละเมิดจากบุคคลอื่น เช่น กฏหมายเกี่ยวกับสัญญา การสมรส มรดก กฏหมายเอกชนแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้กฏหมายแพ่ง เป็นกฏหมายที่กำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของเอกชน เช่น ความมีสภาพเป็นบุคคล ครอบครัว มรดก นิติกรรม เป็นต้น ซึ่งถ้ามีการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของกันและกันแล้ว ไม่กระทบคนส่วนใหญ่ ลักษณะการลงโทษจึงมีเพียงการชดใช้ค่าเสียหายเท่านั้นกฏหมายพาณิชย์ เป็นกฏหมายที่กำหนดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลที่ประกอบการค้าและธุรกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน การประกัน เป็นต้น ซึ่งมีผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ ดังนั้นลักษณะของกฏหมายจึงต่างจากกฏหมายแพ่งกฏหมายพิจารณาความแพ่ง เป็นกฏหมายว่าด้วยข้อบังคับที่ใช้ในการดำเนินคดีเมื่อเกิดคดีความทางแพ่ง สำหรับประเทศไทย ได้รวมกฏหมายแพ่งและกฏหมายพาณิชย์ไว้เป็นฉบับเดียวกัน เรียกว่า ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ศักดิ์กฎหมาย

1.รัฐธรรมนูญ

2.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ, ประมวลกฎหมาย, พระราชบัญญัติ, พระราชกำหนด

3.พระราชกฤษฎีกา

4.กฎกระทรวง

5.ประกาศกระทรวง

6.ข้อบังคับ